วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 4 การใส่เอฟเฟกต์ให้กับงานพรีเชนชั้น

บทที่ 4 ใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับงานพรีเซนเตชั่น

 
ใส่ เอฟเฟ็กต์ในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ เทคนิคหนึ่งที่ทำให้งานนำเสนอดูเป็นมืออาชีพ คือ การใส่ลูกเล่นในขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์จากแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง เราเรียกลูกเล่นในขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์นี้ว่า การเปลี่ยนภาพ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่มมุมมองเรียงลำดับภาพนิ่ง
2. คลิกปุ่มการเปลี่ยนภาพนิ่ง
3. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการ
4. คลิกเลือกรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์
5. ระบุความเร็วการเปลี่ยนสไลด์
6. คลิกเลือกเพื่อ  ใส่เสียงประกอบ
7. ระบุการจัดฉายสไลด์ถัดไปแบบใด
8. คลิกเลือกนำไปใช้กับภาพนิ่งทั้งหมด



ใส่ เอฟเฟ็กต์  ให้กับวัตถุที่สร้างขึ้นในสไลด์ นอกจากจะใส่เอฟเฟ็กต์ตอนเปลี่ยนสไลด์แล้ว ยังอาจใส่ เอฟเฟ็กต์ ให้กับข้อความ หรือส่วนประกอบต่าง ๆ
ที่เรียกว่า ออบเจ็ค ภายในสไลด์ได้ โดยขณะฉายสไลด์แทนที่ข้อความจะแสดงมาพร้อมกันทีเดียว เราก็
กำหนดให้แสดงที่ละส่วนตามความต้องการ มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่มมุมมองปกติ
2. คลิกออกแบบ
3. คลิกโครงร่างการเคลื่อนไหว
4. คลิกเลือกสไลด์
5. เลือกแบบการเคลื่อนไหว
6. คลิกให้มีผลกับทุกสไลด์ (นำไปใช้กับภาพนิ่งทั้งหมด)
7. คลิกเพื่อแสดงตัวอย่าง (เล่น)


การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง การแทรกการเคลื่อนไหวให้กับงานนำเสนอ เมื่อเราจัดวางข้อความและรูปภาพต่าง ๆ ตามต้องการแล้วการแทรกลักษณะการเคลื่อนไหวให้กับงานนำเสนอเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ช่วยให้งานนำเสนอดูน่าสนใจ มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกขวาที่ ข้อความ > เลือกคำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง
2. สังเกตที่บานหน้าต่างงาน คลิกปุ่ม เพิ่มลักษณะพิเศษ เราสามารถเลือกลักษณะพิเศษตามต้องการ
3. ปรับแต่งคุณสมบัติของการเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ  ตามความต้องการ
4. เมื่อแทรกการเคลื่อนไหวของภาพครบแล้ว เราสามารถทดสอบการนำเสนออย่างคร่าว ๆ ได้โดยคลิกที่ปุ่ม เล่น หมายเลขที่ปรากฏขึ้น หมายถึง ลำดับการนำเสนอของวัตถุของสไลด์นั้น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น