วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 4 การใส่เอฟเฟกต์ให้กับงานพรีเชนชั้น

บทที่ 4 ใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับงานพรีเซนเตชั่น

 
ใส่ เอฟเฟ็กต์ในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ เทคนิคหนึ่งที่ทำให้งานนำเสนอดูเป็นมืออาชีพ คือ การใส่ลูกเล่นในขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์จากแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง เราเรียกลูกเล่นในขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์นี้ว่า การเปลี่ยนภาพ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่มมุมมองเรียงลำดับภาพนิ่ง
2. คลิกปุ่มการเปลี่ยนภาพนิ่ง
3. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการ
4. คลิกเลือกรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์
5. ระบุความเร็วการเปลี่ยนสไลด์
6. คลิกเลือกเพื่อ  ใส่เสียงประกอบ
7. ระบุการจัดฉายสไลด์ถัดไปแบบใด
8. คลิกเลือกนำไปใช้กับภาพนิ่งทั้งหมด



ใส่ เอฟเฟ็กต์  ให้กับวัตถุที่สร้างขึ้นในสไลด์ นอกจากจะใส่เอฟเฟ็กต์ตอนเปลี่ยนสไลด์แล้ว ยังอาจใส่ เอฟเฟ็กต์ ให้กับข้อความ หรือส่วนประกอบต่าง ๆ
ที่เรียกว่า ออบเจ็ค ภายในสไลด์ได้ โดยขณะฉายสไลด์แทนที่ข้อความจะแสดงมาพร้อมกันทีเดียว เราก็
กำหนดให้แสดงที่ละส่วนตามความต้องการ มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่มมุมมองปกติ
2. คลิกออกแบบ
3. คลิกโครงร่างการเคลื่อนไหว
4. คลิกเลือกสไลด์
5. เลือกแบบการเคลื่อนไหว
6. คลิกให้มีผลกับทุกสไลด์ (นำไปใช้กับภาพนิ่งทั้งหมด)
7. คลิกเพื่อแสดงตัวอย่าง (เล่น)


การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง การแทรกการเคลื่อนไหวให้กับงานนำเสนอ เมื่อเราจัดวางข้อความและรูปภาพต่าง ๆ ตามต้องการแล้วการแทรกลักษณะการเคลื่อนไหวให้กับงานนำเสนอเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ช่วยให้งานนำเสนอดูน่าสนใจ มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกขวาที่ ข้อความ > เลือกคำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง
2. สังเกตที่บานหน้าต่างงาน คลิกปุ่ม เพิ่มลักษณะพิเศษ เราสามารถเลือกลักษณะพิเศษตามต้องการ
3. ปรับแต่งคุณสมบัติของการเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ  ตามความต้องการ
4. เมื่อแทรกการเคลื่อนไหวของภาพครบแล้ว เราสามารถทดสอบการนำเสนออย่างคร่าว ๆ ได้โดยคลิกที่ปุ่ม เล่น หมายเลขที่ปรากฏขึ้น หมายถึง ลำดับการนำเสนอของวัตถุของสไลด์นั้น ๆ

บทที่ 3 การสร้างงานนำเสนอ,วางโครงสร้างและจัดการกับสไลต์

 การสร้างงานนำเสนอชิ้นใหม่ด้วยโปรแกรม PowerPoint 2003   มีอยู่   3   วิธี   คือ
 
วิธีที่ 1 สร้างงานนำเสนอด้วยงานนำเสนอเปล่า ( Blank Presentation)

 วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างงานนำเสนอด้วยตัวเองทั้งหมด ไม่ต้องการให้ Microsoft  PowerPoint  2003แนะนำอะไรทั้งนั้นเรียกว่า ต้องการพึ่งลำแข้งของตนเพียงอย่างเดียว หากเลือกวิธีนี้เราจะต้องทำอะไรหลายต่อหลายอย่าง เช่น  ต้องกำหนดข้อความในแต่ละสไลด์  ลักษณะพื้นสไลด2.  จะปรากฎแถบเครื่องมืองานนำเสนอใหม่ (New Presentation)์   
เลือกสีและขนาดตัวอักษรให้เหมาะสม  ฯลฯ
  ขั้นตอนการสร้างงานนำเสนอเปล่าดังนี้ 1.  คลิกที่คำสั่ง แฟ้ม(File) >    สร้าง (New)
2.  จะปรากฎแถบเครื่องมืองานนำเสนอใหม่ (New Presentation)
3.  คลิกเลือกงานนำเสนอเปล่า (ฺBlank Presentation)ร้างงานนำเสนอได้

    
4.  จะปรากฎงานนำเสนอและแถบเครื่องมือเค้าโครงสไลด์ (Slide Layout)

5.  เลือกแบบการจัดวางข้อความ (slide Layout)
6.  พิมพ์ข้อมูลที่เตรียมไว้ลงในช่องตามที่ลือกไว้

บทที่ 2 รู้จักกับโปรแกรม Power Point

รู้จักกับโปรแกรม Power point
แนวคิด
                โปรแกรม Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดทำสไลด์เพ่อนำเสนอหรือฉาย ให้บุคคลทั่วไปได้ชม ปัจจุบันโปรแกรม Microsoft PowerPoint เข้ามามีบทบาทกับการนำเสนอเป็นอย่าง มาก ไม่ว่าจะใช้นำเสนอผลงานการประชุม สัมมนาตลอดจนด้านการศึกษาก็นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น เป็นสื่อช่วยสอน ใช้สำหรับนำเสนองานกับครูผู้สอน เป็นต้น
                จุดเด่นของโปรแกรมคือสามารถสร้างงานที่จะนำเสนอได้อย่างง่ายดาย สามารถใส่ภาพ เสียง  ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวในลักษณะวิดีโอลงในสไลด์  เรียกได้ว่าเป็นสื่อนำเสนอน่าชม น่าฟัง และน่าติดตามยิ่งขึ้น
                Microsoft Office PowerPoint 2003 ยังมีเครื่องมือใหม่ๆ ที่ช่วยทำงานให้นำเสนอต่างๆ มีความน่าสนใจขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว


การเรียกใช้โปรแกรม PowerPoint  2003  ก็คล้ายกับโปรแกรมอื่นๆ  ของ  Microsoft  โดยมีวิธีการดังนี้


  • ในกรณีที่เคยสร้างไฟล์งานนำเสนอด้วย PowerPoint มาก่อนแล้ว ให้ดับเบิลคลิกไฟล์ที่มีสกุลเป็น .ppt ก็จะเปิดทั้งโปรแกรม PowerPoint และไฟล์นั้นขึ้นมาให้อัตโนมัติ


เมื่อเปิดโปรแกรม  PowerPoint  2003  ขึ้นมา  ก็จะแสดงสไลด์หน้าแรกว่างๆ ให้เริ่มทำงานได้ทันที




  • เครื่องมือพื้นฐานส่วนใหญ่ของ PowerPoint นั้นจะเหมือนกับโปรแกรมอื่นๆ ในชุด Office 2003 เช่น ปุ่ม New (สร้าง) ปุ่ม Save (บันทึก) แต่ก็มีบางปุ่มที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้ใน PowerPoint โดยเฉพาะ ซึ่งรายละเอียด
    โดยเฉพาะซึ่งรายละเอียดและวิธีการใช้จะกล่าวถึงในหน่วยต่อๆ ไป
               แถบเครื่องมือนี้เป็นที่อยู่ของปุ่มที่ใช้งานได้เหมือนกับคำสั่งในเมนูคำสั่ง เพื่อให้สะดวกในการเรียก
    ใช้ แต่ก็ใช้แทนทุกคำสั่งไม่ได้ เช่น การสั่งพิมพ์ด้วยปุ่มพิมพ์ ไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องพิมพ์หรือเลือกหน้า
    ที่จะพิมพ์ได้เหมือนคำสั่ง Print

แนะนำแถบเครื่องมือ Standard ( มาตรฐาน )


แถบเครื่องมือ
Standard (มาตรฐาน) ประกอบด้วยปุ่มที่ใช้บ่อยๆ ดังนี้



แนะนำแถบเครื่องมือ  Formatting  (จัดรูปแบบ)


แถบเครื่องมือ  จัดรูปแบบ ประกอบด้วยปุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบให้กับตัวอักษรหรือย่อ หน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้



การปิดโปรแกรมนั้นให้ใช้คำสั่ง  File -->  Exit  (แฟ้ม --> จบการทำงาน)  หรือคลิกปุ่ม Close  ของหน้าต่างโปรแกรม

บทที่ 1 ความรู้เบื่องต้นในการใช้โปรแกรมสื่อประสม

สื่อประสม

สื่อประสม (Multimedia) หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่างมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกัน และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันของเนื้อหา สื่อประสม (Multimedia) หมายรวมถึง การรวมสื่อต่าง ๆ ซึ่งสามารถหรือแสดงในรูปของตัวอักษร เสียง รูปและภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกันเป็นสื่อเดียว สื่อประสมได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้คือ
  • สื่อประสมแบบบรรจุแพกเกจ เช่น ซีดี-รอม และเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • สื่อประสมชนิดเครือข่าย เช่น ระบบปฏิบัติงานกลุ่ม (groupware) เคเบิลทีวี หรือ ทางด่วนข้อมูล เป็นต้น
  • สื่อประสมแบบมหรสพ เช่น เกมส์สื่อประสมในสวนสนุก เป็นต้น
ในอนาคตจะมีการนำสื่อประสมมาใช้หลายด้าน เช่น ทางด้านการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ และนำภาพโสตทัศนต่าง มาสู่ห้องเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลิน และสร้างแรงจูงใจต่อการเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล หรือมีการลงคู่มือการใช้และการซ่อมแซม ลงบนอินเตอร์เน็ต หรือซีดี-รอม ส่วนหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนาก็คือ โทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์ ซึ่งมีมากกว่า 500 ช่อง ซึ่งควบคุมโดยชิปของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในโทรศัพท์ ซึ่งจะมีท่อลำเลียงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้ที่แสดงเป็นวิดีทัศน์ ผู้ใช้สามารถกดปุ่มดูการแสดงเฉพาะบางช่วงหรือเน้นเฉพาะจุด และสามารถปฏิสัมพันธ์กับ story line และสามารถตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรายการแสดงตอนจบได้
การเลือกสื่อประสม สื่อที่เรานำมาใช้ในชุดสื่อการสอนแบบสื่อประสมมักตะประกอบด้วย เอกสารการสอน แผนภูมิ หุ่นจำลอง ชุดแผ่นโปร่งใส สไลด์และ เทปเสียง ฟิล์มสตริป บทเรียนสำเร็จรูป ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ ชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสื่อประสมแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ ตามพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่ม หรืของแต่ละบุคคล ที่แน่นอนคือสื่อประสมหลายอย่าง ย่อมช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิ์ภาพมากกว่าสื่อประเภทเดียว